บีเอ็มดับเบิลยู 7 ซีรีส์ (BMW 7 Series) เป็นรถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดใหญ่ (Full-size luxury vehicles) เป็น รถธง (รถรุ่นที่ได้ชื่อว่าดีที่สุด โด่งดังที่สุด สมบูรณ์แบบที่สุดของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ)ของบริษัทรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู เริ่มผลิตครั้งแรกใน พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาแบ่งได้ 5 รุ่น (Generation) ดังนี้
รุ่นแรก หรือ E23 ทุกคัน ใช้เครื่องยนต์ 6 สูบ ขนาดระหว่าง 2500 - 3500 ซีซี แต่รุ่นที่ขายกับลูกค้าทั่วไปนั้นเป็นขนาด 2800 ซีซีขึ้นไป ส่วนรุ่นที่ใช้เครื่อง 2500 ซีซี จะขายกับรัฐบาลหรือออร์เดอร์กรณีพิเศษอื่นๆ เท่านั้น
E23 มีเอกลักษณ์เด่นในเรื่องความล้ำยุค ล้ำสมัยมากแม้เมื่อเทียบกับรถระดับหรูอีกหลายยี่ห้อ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เด่นของ 7 ซีรีส์มาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างความทันสมัยของ E23 ที่บีเอ็มดับเบิลยูนำมาใช้ เมื่อเทียบกับยี่ห้ออื่น คือเช่น เครื่องยนต์แบบหัวฉีด, ระบบเบรกแบบ ABS, ถุงลมนิรภัยฝั่งคนขับ, ระบบกระจกไฟฟ้า และเกียร์อัตโนมัติแบบ 4 สปีด เป็นต้น (ซึ่งแทบทั้งหมดมีในรถทั่วไปในปัจจุบัน แต่แทบจะหาไม่ได้เลยแม้แต่อย่างเดียวในรถที่ขายเมื่อ 30 ปีก่อน) นอกจากนี้ ยังมีระบบ Power seat เก้าอี้ไฟฟ้า ปรับเบาะโดยใช้ระบบไฟฟ้า รวมทั้งระบบทำความร้อนในเบาะนั่ง ซึ่งยังหาไม่ได้แม้แต่ในรถยุคปัจจุบัน
บีเอ็มดับเบิลยูในตลาดส่วนใหญ่ ได้ผลิตรถรุ่น E32 มีเป็นซีรีส์ 7 แทน E23 ในปี พ.ศ. 2529 แต่ E23 ยังผลิตในทวีปอเมริกาเหนือและในประเทศญี่ปุ่นต่อไปอีกบ้างจำนวนหนึ่ง ก่อนจะเลิกผลิตไปในปี พ.ศ. 2530 รวมยอดการผลิตทั้งสิ้น 285,029 คัน
E32 มีการติดตั้งเทคโนโลยีรถใหม่ล่าสุดของยุคนั้นลงไปในรถอีกจำนวนหนึ่ง เช่น เครื่องโทรศัพท์ เครื่องแฟกซ์ ตู้แช่ไวน์ ถูกติดตั้งลงไปในรถ และยังมีการใช้ระบบเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด (ซึ่งรถที่ขายในยุคปัจจุบันกว่าครึ่งหนึ่งยังเป็นเกียร์อัตโนมัติแบบ 4 สปีดอยู่) ระบบจำกัดความเร็วอิเล็คโทรนิคส์ และเทคโนโลยีล้ำยุคอื่นๆ อีกมากมาย
ส่วนเครื่องยนต์ของ E32 เริ่มต้นตั้งแต่เครื่องยนต์ขนาด 3000 ซีซี 6สูบ 12วาล์ว 188แรงม้า ไปจนถึงเครื่องยนต์ 5000ซีซี 12 สูบ 24 วาล์ว 300 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 450 นิวตัน-เมตร ยอดการผลิตรวมทั้งสิ้น 311,068 คัน
ในภาพยนตร์ดังถึง 3 เรื่องของยุคนั้น มีการนำ E38 ไปใช้แสดงหลายฉากพอสมควร คือ เจมส์ บอนด์ 007 พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย (นำแสดงโดย เพียร์ซ บรอสแนน),The Game เกมตาย...ต้องไม่ตาย (นำแสดงโดย ไมเคิล ดักลาส) และ The Transporter ขนระห่ำไปบี้นรก (นำแสดงโดย เจสัน สเตธัม) และยังได้สร้างความน่าสนใจขึ้นไปอีก ด้วยการที่ E38 รุ่น 750iL ในอเมริกาเหนือ ใช้เครื่องยนต์ขนาด 5400 ซีซี 12 สูบ ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ประเภทเดียวกับที่ใช้ในรถยนต์ระดับมหาเจ้าสัว คือ โรลส์-รอยซ์ ซิลเวอร์ เซราฟ (Rolls-Royce Silver Seraph)
E38 อัปเดตเทคโยโลยีใหม่ล่าสุดเข้าไปอีกเช่นเคย ในคราวนี้คือ ไฟหน้าแบบ HID ซึงเป็นหลอดไม่มีไส้ มีหลักการทำงานคล้ายคลึงกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ แต่อาศัยแก๊สซีนอน, ปรอท และเมทัลฮาไลด์ให้เรืองแสงขึ้น โดยจะสว่างกว่าหลอดไฟหน้าแบบฮาโลเจนทั่วไป และสีของแสงใกล้เคียงกับแสงดวงอาทิตย์มากกว่า ทำให้แยกแยะวัตถุได้ดีกว่า อีกทั้งไม่แยงตาผู้ขับขี่ที่แล่นสวนทางมาด้วย และสามารถมองได้ไกลขึ้น 30 - 40% (ซึ่งรถญี่ปุ่นส่วนใหญ่เพิ่งเปลี่ยนมาใช้หลอด HID แทนหลอดฮาโลเจนเมื่อไม่ถึง 5 ปีที่ผ่านมา)
นอกจากนี้ E38 ยังมีระบบNavigation System (ระบบแผนที่และนำทางโดยใช้การสื่อสารแบบ GPS กับดาวเทียม), ระบบเครื่องเสียงในรถแบบ Surround ด้วยลำโพง 14 ตัวรอบคัน พร้อมซับวูเฟอร์อีก 4 ตัว เพิ่มความหนักแน่นของเสียง, เครื่องเล่น CD เก็บแผ่นในเครื่องได้ 6 Disc, รวมทั้งหลังคาแบบมีมูนรูฟ (มีรูบนหลังคา มีกระจกเปิด-ปิดรูนั้นได้ เอาไว้เวลานอนดูท้องฟ้าในรถยามค่ำคืน ดูเสร็จก็ปิดกระจก)
ในปี พ.ศ. 2544 เมื่อขาย E38 มานานแล้ว บีเอ็มดับเบิลยู ก็ได้ปล่อยข้อมูลของรถซีรีส์ 7 รุ่นต่อไปออกสู่สังคม โดยตั้งชื่อว่า E65 ปรากฏว่าหลังการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ยอดขาย E38 สูงขึ้นอย่างน่าประหลาด จากการสำรวจความคิดเห็นก็พบว่า เหล่าเศรษฐีที่รอซื้อซีรีส์ 7 รุ่นต่อไปต่างผิดหวังกับ E65 และไม่ชอบซีรีส์ 7 รุ่นต่อไปนัก จึงแห่มาซื้อ E38 ก่อนที่มันจะถูกแทนที่โดย E65 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า จนทำให้ บีเอ็มดับเบิลยูผลิตรถไม่ทัน ต้องขึ้นราคาเพื่อลดยอดขาย
นวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ถูกติดตั้งลงใน E65 คือระบบ iDrive ซึ่งพัฒนาต่อยอดจากระบบ Navigation โดย iDrive เป็นคล้ายๆ กับระบบคอมพิวเตอร์ของเครื่องยนต์ แสดงผลโดยจอมอนิเตอร์ความละเอียดสูง สามารถใช้ปุ่มควบคุมที่อยู่ใกล้คันเกียร์ปรับแต่งค่าต่างๆ ภายในรถได้ ตั้งแต่การปรับแต่งระบบเครื่องเสียง ระบบปรับอากาศ ระบบดีวีดี ระบบโทรศัพท์ ไปจนถึงระบบการตอบสนองของช่วงล่าง ปรับระบบการทรงตัว ปรับโหมดการขับขี่ ฯลฯ นอกจากเป็นตัวรับคำสั่งจากผู้ขับขี่แล้ว ยังสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งเมื่อรถเกิดอุบัติเหตุหรือขัดข้องจนไม่สามารถวิ่งต่อไปได้ ระบบ iDrive จะส่งสัญญาณแจ้งอุบัติเหตุไปยัง BMW CallCenter โดยอัตโนมัติ พร้อมบอกพิกัดที่เกิดเหตุ หรือเมื่อมีอุปกรณ์ใดๆ ชำรุดเล็กน้อย ก็จะบันทึกข้อมูลไว้ เมื่อเจ้าของนำรถเข้าศูนย์บริการ เจ้าหน้าที่ศูนย์จะนำระบบคอมพิวเตอร์ของศูนย์มาเชื่อมกับระบบ iDrive แล้วระบบ iDrive จะรายงานในทันทีว่ามีความผิดปกติใดที่เกิดขึ้นกับรถ ตั้งแต่การชำรุดของอะไหล่ที่ซับซ้อนไปจนถึงเรื่องยางแบน ทำให้สามารถหาต้นเหตุและซ่อมได้ทันที
อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นของการผลิต E65 ผู้ใช้รถไม่คุ้นชินกับการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนของ iDrive และตัวระบบไอไดรฟ์เองก็มีปัญหารวนอยู่บ่อยๆ เพราะเป็นนวัตกรรมที่เพิ่งถูกคิดค้นขึ้น ทำให้ชื่อเสียงของซีรีส์ 7 ในช่วงนี้ตกต่ำลงไปมาก จนบีเอ็มดับเบิลยู ต้องไปปรับปรุงระบบ iDrive ครั้งใหญ่ จนกระทั่งเมื่อระบบเข้าที่เข้าทางแล้ว บีเอ็มดับเบิลยูก็เริ่มการประชาสัมพันธ์หาลูกค้าอีกครั้ง รวมทั้งปรับโฉมของรถเล็กน้อยให้เข้ากับยุคสมัย โดยใช้พื้นฐานของตัวถังแบบเดิม และด้วยกลยุทธ์การตลาดที่ยอดเยี่ยม ชื่อเสียงของซีรีส์ 7 จึงเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง จนสามารถขายได้อย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลัง และทำยอดขายได้สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของ 7 ซีรีส์
F01 เปิดตัวครั้งแรกที่จตุรัสแดง กลางกรุงมอสโก ราคาในประเทศไทยระหว่าง 7.6 - 15.7 ล้านบาท รุ่นนี้BMW 7 ซีรีส์ได้เปลี่ยนช่วงล่างจากแมคเฟอร์สันสตรัท ไปเป็นดับเบิ้ลวิชโบน เฉพาะด้านหน้า เพื่อการขับขี่ที่ดีขึ้น เครื่องยนต์มีให้เลือกคือ 3.0,4.4V8,5.0 V12 มีเกียร์คือเกียร์ออโต้6สปีดและ8สปีด เฉพาะ760liและActive hybrid7 ส่วนโมเดลที่เหลือจะใช้ตั้งแต่ปี2013 โดยได้มีการminor change เมื่อปี2012
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/บีเอ็มดับเบิลยู_7_ซีรีส์